#Music_Theory_Clinicnnการหาขั้นคู่ตัวบน ไม่ค่อยเป็นปัญหาเท่าไรครับ nแต่ขั้นคู่ตัวล่างนี้เป็นปัญหามากสำหรับนักเรียนnที่เคยมาติวสอบก่อนไปสอบวิชาทฤษฎีดนตรีกันnnตัวบนเรายังตั้งได้เพราะเรารู้ว่า Tonic คืออะไร nเมื่อรู้ตัว Tonic แล้วเราก็สามารถนับขึ้นไปnได้ด้วยการหาบันไดเสียงเมเจอร์ (Major Scale) nมารองรับ ทีนี้ก็นับขึ้นไป แล้วก็หาว่าเป็นคู่อะไร nnลองดูอย่างตัวอย่างกันครับnถ้ามีโน้ต Ab ให้มาหนึ่งตัวบอกให้โน้ตตัวบนnทำให้เป็นขั้นคู่ A5 ถ้าหาโน้ตตัวบนนี้จะทำอย่างไรดี nอันดับแรกเขียน Ab major Scale ออกมาก่อนเลยnAb major นับไปครับ (Ab) Bb C Db Eb (F) Gnพอเราได้คู่ M6 แล้วไปต่อให้เป็น A6 nก็เพิ่มระดับเสียงโน้ตตัวบนขึ้นครึ่งเสียงมันnจาก Ab-(F) ที่เป็นขั้นคู่ M6nโน้ตตัวบนเพิ่มขึ้นไปครึ่งเสียงnก็จะเป็น Ab-(F#) ก็จะเป็นขึ้นคู่ A6 nตรงนี้ถ้าติวพื้นฐานมาแแล้วจะง่ายมากครับ nnทีนี้ถ้าเจอให้เติมโน้ตตัวล่างเพื่อหาขั้นคู่ A6 จะทำยังไงดี nมีโน้ต Ab แต่ทีนี้ให้หาโน้ตตัวล่างไปเติมให้ได้คู่ A6 nอย่าเพิ่งตกใจไปครับ หาความง่ายไว้ก่อน nไล่โน้ตออกมาก่อนยังไม่ต้องคิดอะไรมาก nAb=6 ไล่ลงมา G(5) F(4) E(3) D(2) C(1) nไล่ลงมาไม่ต้องกังวลโครงสร้างครับ nทีนี้หาตัว Root มาตั้งเป็นตุ๊กตาไว้ก่อนnตอนนี้เราจะได้ C เป็นตัว Root nต่อไปลองเอามาคู่กันเป็น C-Ab ไอ้นี่มัน m6 nลดตัวล่างลงครึ่่งเสียง เป็น Cb-Ab จะได้ M6 nแล้วก็ลดตัวล่างลงอีกครึ่งเสียง Cbb-Ab ก็จะได้ A6 แล้ว nnตรงสำคัญมากครับnการลดเสียงตัวล่างลงคือ "การขยายระยะเสียงออกไปให้กว้างขึ้น" nแต่ถ้าเพิ่มระดับเสียงตัวล่างขึ้นไปมันจะทำให้ "ระยะเสียงหดลง" nที่พลาดกันมากน่าจะเป็นจุดนี้เลย พื้นฐานขั้นคู่ต้องติวให้แน่นพอสมควรnโจทย์ที่เราจะเจอแน่นอนครับ ถูกคิดออกมาหลายวิธี ให้มีวิธีหลากหลายมากnสำหรับคนที่เข้ามาติวต้องทำแบบฝึกหัดหลายชุดnจนกว่าจะคล่องเพื่อจะได้พร้อมสอบในสนามจริงครับnnเป็นกำลังใจสำหรับคนที่กำลังเตรียมสอบครับnKruBeern#สอบทฤษฎีดนตรี #สอบโสตทักษะ #ติวสอบTIME #TIMEGrade9 #TIMEGrade12 #MusicTheory #SMCC #Trinity #ABRSM #สอบเข้าเอกดนตรี #เอกดนตรีสากล #เอกดนตรีศึกษา #ดุริยางคศิลป์ #ครูผู้ช่วยเอกดนตรีสากล🎼
About :
Contact:
Other Information
Categories:
Education WebsiteWebsite:
krubeer.orgFeatured Articles:
เพลง ชุดโกโกวา ผ่านมาแล้วครึ่งปี ใครยังจำได้บ้างครับ 🤣
10 ลิงค์แบบฝึกทฤษฎีดนตรีnแบบฝึกฟังโสตทักษะพื้นฐานnเว็ปไซต์ช่วยพัฒนาทักษะทาง n"ทฤษฎีดนตรี" และ "โสตทักษะ"nnถ้าเรามีแผนที่จะเดินทางไปเที่ยวสักที่nแน่นอนครับ หากมีแต่แผนที่คงไม่สามารถเดินทางไปได้nจะออกเดินทางได้ต้องเริ่ม "ก้าว" ออกไปจากจุดเดิม nทฤษฎีดนตรีเมื่อ อ่าน ดู ฟัง เป็นการรับข้อมูลเข้ามาเท่านั้น nส่วนการทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เรียกว่า "ทฤษฎีดนตรี" nมันจะนำไปใช้อะไรได้บ้าง เริ่มจากการฝึกฝนทำแบบฝึกหัด nเมื่อเข้าใจทุกอย่างดีแล้ว เราก็จะมีภาษาดนตรีสากลnในการสื่อสารกับนักดนตรีด้วยกันครับ nnสำหรับเว็ปไซต์ "musictheory.net" nสามารถใช้ทบทวนความรู้ทฤษฎีดนตรีพื้นฐาน nในสไตล์และความรู้สึกเหมือนที่เรากำลังเล่นเกมส์อยู่ nมีการนับสกอร์คะแนนในการตอบทำให้เราเห็นว่าเราพัฒนาไปถึงจุดไหนแล้วnสิ่งที่นักเรียนที่เข้ามาติวชอบมากๆคือ การปรับระดับความยากง่าย nและระดับของความซับซ้อน ทำให้ได้ฝึกราวกับว่า nนักเรียนจะต้องชนะไปทีละด่าน ผ่านด่านเหมือนการเล่นเกมส์ nnเว็ปไซต์และแอพพลิเคชั่นนี้ นักเรียนที่มาลงคลาส nเตรียมสอบวิชาทฤษฎีดนตรี (Music Theory Exam) nจะใช้ฝึกทำแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนความรู้พื้นฐานกันก่อนnไปทำแนวข้อสอบครับ ไม่ว่าจะเป็นสอบเข้ามหาวิทยาลัย nข้อสอบวิชาเอกเข้าบรรจุรับราชการ nข้อสอบเทียบเกรดเพื่อวัดมาตรฐานในสถาบันต่างๆ nรวมไปถึงการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเข้าถึงภาษาดนตรีสากลnก็สามารถฝึกจากเว็ปไซต์นี้ได้เหมือนกัน nnใครที่เพิ่งเริ่มใช้งานเว็ปไซต์นี้สามารถเข้าไปดูวิธีการใช้งานได้ที่ลิงค์นี้ครับ nhttps://www.facebook.com/krubeer.org/videos/768674027397822nnทาง Musictheory.net ยังมีแอพพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นมาคล้ายๆกันnมีฟังก์ชั่นคล้ายๆกับสิ่งที่อยู่ในเว็ปไซต์ ทำให้เราฝึกฝนได้สะดวกขึ้นครับ nถ้าใครใช้ระบบปฏิบัติการ IOS สามารถสนับสนุนอุดหนุนเว็ปไซต์ได้ครับnเป็น 2 แอพพลิเคชั่นที่ใช้ในระบบ IOSn1. Theory Lesson n2. Tenutonn10 ลิงค์แบบฝึกทฤษฎีดนตรีnแบบฝึกฟังโสตทักษะพื้นฐานnnลิงค์สำหรับทำแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนพื้นฐานทฤษฎีดนตรีก่อนฝึกทำข้อสอบ (Music Theory)nnชื่อตัวโน้ต (Note Identification)nhttps://www.musictheory.net/exercises/notennเครื่องหมายประจำกุญแจเสียง (Key Signature)nhttps://www.musictheory.net/exercises/keysignnขั้นคู่ (Interval)nhttps://www.musictheory.net/exercises/intervalnnบันไดเสียง (Scale)nhttps://www.musictheory.net/exercises/scalennคอร์ด (Chord)nhttps://www.musictheory.net/exercises/chordnnลิงค์สำหรับฝึกฟังเสียงเพื่อทบทวนพื้นฐานโสตทักษะก่อนฝึกทำข้อสอบ (Ear Training)nnฝึกฟังแล้วตอบด้วยโน้ตบนคีย์บอร์ด (Keyboard Ear Training) nhttps://www.musictheory.net/exercises/ear-keyboardnnฝึกฟังแล้วต้องชื่อโน้ต (Note Ear Training)nhttps://www.musictheory.net/exercises/ear-notennฝึกฟังแล้วตอบชื่อขั้นคู่ (Interval Ear Training)nhttps://www.musictheory.net/exercises/ear-intervalnnฝึกฟังแล้วตอบชื่อบันไดเสียง/โหมด (Scale Ear Training) nhttps://www.musictheory.net/exercises/ear-scalennฝึกฟังแล้วตอบชื่อคอร์ด (Chord Ear Training) nhttps://www.musictheory.net/exercises/ear-chordnn-------------------nnอ้างอิง : musictheory.netnn-------------------
เว็ปไซต์สื่อดนตรีสร้างสรรค์n"Chrome Music Lab" nออกแบบได้น่ารักnสนุก แปลกใหม่ เข้าใจง่ายnเหมาะกับคุณครูสอนดนตรีให้เด็กๆnทดลองสร้างสรรค์เสียงดนตรีด้วยตนเอง nเว็ปไซต์นี้คือ nn"Chrome Music Lab"nhttps://musiclab.chromeexperiments.com/nnมีให้ทดลองเล่นกันถึง n13 ซอร์ฟแวร์ครับnไปดูกันว่าจะมีอะไรบ้าง nn1. Shared Piano nเป็นซอร์ฟแวร์จำลองเปียโน nแถมยังมีกราฟฟิคน่ารักๆ มีรูปน้องหมาเวลาเรากดคีย์เปียโนด้วย nแล้วก็มีตัว Piano Roll ลากเส้นออกไปให้เราเห็นnถึงความยาวของเสียงที่เรากดไป nออกแบบได้น่ารักแล้วก็สนุกครับnลองไปเล่นกันครับที่ Link นี้ได้เลยครับnhttps://musiclab.chromeexperiments.com/Shared-Piano/nn2. Song Maker nฝึกทำเพลงโดยไม่ต้องรู้ทฤษฎีดนตรี nเป็นซอร์ฟแวร์สำหรับการเริ่มต้นสร้างดนตรี nสิ่งที่สามารถทำได้คือการสร้างจังหวะ (Rhythm)nโดยที่เราสามารถสร้างสรรค์โดยการมาร์คจุดลงไปในส่วนของจังหวะnและสามารถใส่ทำนอง และเสียงประสานอีกด้วยครับ nหลังจากที่เราใส่จุดต่างๆลงไปแล้วก็สามารถกด Play nเล่นออกมาเป็นเสียงเพลงได้เลย nตัวทำนองเองมีเสียงทั้งเสียง nPiano String nMarimba Woodwind Synthnตัวจังหวะเองก็มีทั้งเสียงnBlocks Kit Conga Electronicnตัวซอร์ฟแวร์ถูกออกแบบมาให้เราทดลองnสร้างดนตรี โดยไม่จำกัดจินตนาการของเราอยู่แล้ว nลองไปเล่นกันครับที่ Link นี้ได้เลยครับnhttps://musiclab.chromeexperiments.com/Song-Maker/nn3. Rhythm nในซอร์ฟแวร์วิธีการเล่นคล้ายกับ Song Makernคือการกำหนดจุดเพื่อให้เกิดเสียงต่าง nในส่วนของ Rhythm จะมีกราฟฟิคที่ให้ผู้เล่นnได้คิดค้นจังหวะเป็นของตัวเอง nกราฟฟิคค่อนข้างน่ารักครับnมีให้เลือก 4 แบบ nแบบที่หนึ่ง มีน้องลิงสองน่ารักตัวกำลังตี Timpani, Trianglenแบบที่สอง มีน้องวัวสีเขียวสองตัวกำลังตี Tenor Drum, Snare, Hi-hatnแบบที่สาม มีน้องวัวสีฟ้าสองตัวกำลังตี Woodbox, Clavesnแบบที่สี่ มีน้องนกสีส้มสองตัวกำลังตี Conga, Cowbellnผู้เล่นสามารถสร้างจังหวะผ่านเสียงต่างๆทั้ง 4 แบบได้เลยครับ nลองไปเล่นกันครับที่ Link นี้ได้เลยครับnhttps://musiclab.chromeexperiments.com/Rhythm/nn4. Spectrogramnเป็นซอร์ฟแวร์ที่ผู้เล่นจะได้เห็นกราฟเส้นเสียง nไม่ว่าจะเป็นเสียงพูดของเรา เวลาเราพูดเข้าไปในไมค์nซอร์ฟแวร์ก็จะแสดงกราฟออกมาให้เห็นว่า nเสียงที่เราผลิต เสียงที่เราได้ยิน เสียงที่เราพูด nเวลาวัดออกมาเป็นกราฟ จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร nนอกจากนั้นยังมีเสียงจำลองอย่างเสียงฟลู้ท เสียงฮาร์ป nเสียงร้อง เสียงทรอมโบน เสียงอิเลคทรอนิค nเสียงนก เสียงคอมพิวเตอร์ เสียงแก้วnให้ได้ดูกราฟ นอกจากจะได้ยินเสียงแล้วnทำให้ดูน่าสนใจ และดูน่าตื่นตาตื่นใจ nเวลาเห็นกราฟที่ขึ้นลง nเสียงของที่เราผลิตขึ้นมาก็มีชีวิตเหมือนกันนะครับnลองไปเล่นกันครับที่ Link นี้ได้เลยครับnhttps://musiclab.chromeexperiments.com/Spectrogram/nn5. Sound Wavesnเป็นซอร์ฟแวร์ที่ให้ผู้เล่นได้สังเกตถึงความแตกต่างของnการสั่นสะเทือน การกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน nทั้งเสียงสูงเสียงต่ำ nเมื่อเล่นเสียงต่ำ การสั่นสะเทือนจะnมีลักษณะที่ช้ากว่าเสียงสูง nลองไปเล่นกันครับที่ Link นี้ได้เลยครับnhttps://musiclab.chromeexperiments.com/Sound-Waves/nn6. Apreggiosnเมื่อเข้าไปในซอร์ฟแวร์จะมีวงล้อให้เราได้เลือกคอร์ด nในวงล้อถ้าส่งเกตอย่างเช่นตัว C c สิ่งที่แตกต่างกันnคือ C ที่เป็นอักษรตัวใหญ่เป็นสัญลักษณ์แทน Major Chord nส่วน c ที่เป็นอักษรตัวเล็กเป็นสัญลักษณ์แทน Minor Chordnในวงล้อนี้เราเรียกว่า Circle of Fifth nที่เอาไว้สร้างการเคลื่อนคอร์ดแบบ Dominant Motion nแต่ในเบื้องต้นไม่จำเป็นต้องทำตามทฤษฎีอะไรให้ยุ่งยาก nทดลองกดคอร์ดแล้วจะมีเลือกเล่นรูปแบบ nOstinato ได้ถึง 5 รูปแบบ nพูดง่ายๆว่า คอร์ดเดียวถ้าทำการสร้างออกมาแล้วnสามารถทำได้ถึง 5 Pattern nให้ผู้เล่นเห็นว่าคอร์ดมีความเป็นไปได้nในการสร้างสรรค์ดนตรีอีกมากมาย nลองไปเล่นกันครับที่ Link นี้ได้เลยครับnhttps://musiclab.chromeexperiments.com/Arpeggios/nn7. Kandinskynชื่อของซอร์ฟแวร์ตัวนี้มากจากชื่อของnคุณ Wassily Kandinsky nคือจิตรกรชาวเยอรมัน เชื้อชาติรัสเซีย nผู้ให้กำเนิดศิลปะด้านพลังของอารมณ์ในแนวนามธรรม n(abstract expressionism)nชอร์ฟแวร์นี้จะให้เราขี้ดเขียนเส้นออกมาnจะขีดเส้นกี่เส้นก็ได้ ซอร์ฟแวร์จะสร้างเสียงมาnให้สอดคล้องกับเส้นที่เราขีดnสมกับชื่อของท่านจิตรกรในการสร้างงาน abstract nเอาศิลปะกับเสียงดนตรีมาพบเจอกันได้ในที่สุด nลองไปเล่นกันครับที่ Link นี้ได้เลยครับnhttps://musiclab.chromeexperiments.com/Kandinsky/nn8. Voice Spinnernชอร์ฟแวร์ถูกออกแบบมาให้เราอัดเสียงตัวเองเข้าไป nแล้วทำการ Play เสียงของเราให้เร็ว ช้า ไปข้างหน้า ย้อนหลัง nตัวนี้มีประโยชน์ในด้านการค้นหามุมมองnของเสียงเพื่อไปสร้างสรรค์งานอีกทีหนึ่ง nเสียงที่เราได้ทำการบันทึกในมุมของมันอีกหลายๆด้านnสามารถสร้างสรรค์เสียงออกมาได้อีกหลากหลายจริงๆ nลองไปเล่นกันครับที่ Link นี้ได้เลยครับnhttps://musiclab.chromeexperiments.com/Voice-Spinner/nn10. Harmonicsnสำหรับซอร์ฟแวร์นี้ออกแบบมาให้เห็นถึงnความแตกต่างของการกำเนิดเสียงnที่มาจาก Harmonic Series การสั่นสะเทือนในครั้งเดียว nบางครั้งเราอาจจะคิดว่ามันมีเสียงเดียวที่เราได้ยินnจริงๆแล้วในธรรมชาติ แม้จะผลิตเสียงๆเดียว nแต่มีสิ่งที่ออกมาพร้อมๆกันคือ Harmonic Series nซอร์ฟแวร์นี้ให้เราเห็นว่าเสียงๆเดียวมีคลื่นที่ซ้อนทับกันอยู่nลองไปเล่นกันครับที่ Link นี้ได้เลยครับnhttps://musiclab.chromeexperiments.com/Harmonics/nn9. Piano Rollnซอร์ฟแวร์นี้หลายๆคนน่าจะคุ้นกันดีอยู่แล้ว nนั่นคือ Piano Rool ที่พบเจอได้ทั่วไปใน Youtubenเป็นการจำลองภาษา Midi ง่ายๆ ให้ได้ฟังและได้ดูเป็นกราฟฟิคง่ายnเป็นพื้นฐานถ้าผู้มีความชอบก็สามารถต่อยอดไปในทางnMusic Production ต่อไปได้ nในซอร์ฟแวร์นี้มีให้เล่นและมีให้ชมภาษา nMidi ถึง 5 บทเพลงด้วยกัน nลองไปเล่นกันครับที่ Link นี้ได้เลยครับnhttps://musiclab.chromeexperiments.com/Piano-Roll/nn10. Oscillator nซอร์ฟแวร์ตัวนี้แปลตรงตัวอยู่แล้วว่าเป็นเครื่องมือแกว่งหรือสั่นnมีให้เลือกเสียงถึง 4 แบบ nเพียงเราแค่นำเมาส์คลิกขึ้นลงบนพื้นที่ว่างหรือตัวน้องๆ nจะมีการประมวลผลคลื่นเสียงเป็นตัวเลขให้ได้เห็นว่า nเสียงต่างๆมีความถี่และวัดเป็นตัวเลขได้เท่าไรบ้าง nกราฟฟิคออกแบบได้น่ารักมากๆครับnลองไปเล่นกันครับที่ Link นี้ได้เลยครับnhttps://musiclab.chromeexperiments.com/Oscillators/nn11. Stringnซอร์ฟแวร์นี้เป็นการขึงสาย และการกำหนดระยะที่ไม่เท่ากัน nทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน ซอร์ฟแวร์ถ้าทำให้มีระยะเสียงที่เยอะกว่านี้nน่าจะสนุกกว่านี้ สามารถเป็นสื่อเบื้องต้นในการแสดงให้เห็นว่า nสายที่ขึงตึงแต่มีระยะที่แตกต่างกันก็ไให้เสียงที่แตกต่างกันครับ nลองไปเล่นกันครับที่ Link นี้ได้เลยครับnhttps://musiclab.chromeexperiments.com/Strings/nn12. Melody Makernซอร์ฟแวร์นี้เป็นการสร้างทำนอง เป็นซอร์ฟแวร์แรกก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นnSong Maker ที่มีทั้งทำนองและจังหวะนตัวเดียวกัน nสามารถปรับให้จังหวะช้าเร็วได้ตามต้องการ nลองไปเล่นกันครับที่ Link นี้ได้เลยครับnhttps://musiclab.chromeexperiments.com/Melody-Maker/nn13. Chordnซอร์ฟแวร์นี้เป็นเครื่องดนตรีเปียโนเสมือนให้ผู้เล่นได้เรียนรู้เรื่องคอร์ดเบื้องต้น n2 ประเภทนั่นคือ Major และ Minor nกราฟฟิคจะขึ้นเป็นรูปคอร์ดให้เวลาที่เราคลิกโน้ตnอย่างคลิกโน้ตไปที่ตัว C แล้วกดเลือก Major nก็จะขึ้นเป็นรูปคอร์ด C Major ให้อัตโนมัติnเหมาะกับผู้เริ่มต้น อาจจะเริ่มเรียนคีย์บอร์ดแล้วเรียนรู้คอร์ดเบื้องต้นnตรงนี้จะมีประโยชน์มากๆ ครับ nลองไปเล่นกันครับที่ Link นี้ได้เลยครับnhttps://musiclab.chromeexperiments.com/Chords/nn:)
ตัวช่วยแกะคอร์ดเพลงอัตโนมัติ nให้คนดนตรี แบบฟรีๆ nสำหรับคนที่ต้องใช้สกิลในการแกะเพลง nหรือวันนี้ต้องเพลงบางเพลงnแต่แกะคอร์ดเพลงไม่ทันแล้วnเว็ปไซต์นี้ช่วยทำให้คอร์ดเพลงเสร็จnได้ภายในไม่กี่วินาทีnnเว็ปไซต์นี้เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักดนตรี nนักประพันธ์ นักแต่งเพลง นักเรียบเรียงnล้วนแล้วเคยใช้เว็ปไซต์นี้เป็นผู้ช่วยที่ดีnในการแกะคอร์ดเพลง เพื่อนำไปเล่นnหรือเพื่อนำไปเป็นไอเดียในการแต่งเพลงกันทั้งนั้น nnเว็ปไซต์นี้คือ "Chordify.net" nnด้วยสโลแกนของการก่อตั้งเว็ปไซต์คือ n"Get instant chords for any song"nnคุณสามารถได้รับคอร์ดได้ทันทีสำหรับnทุกเพลงที่ค้นหาโดย Chordify nnด้วยวิธีง่ายๆ คือ Copy ลิงค์ของบทเพลงที่ต้องการnซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลิงค์ที่ได้จาก Youtube nหลังจากนั้นทำลิงค์ไปใส่ในช่องค้นหา nเว็ปไซต์จะใช้ตัวปัญญาประดิษฐ์ประมวลผลให้เราnทั้งจังหวะ ห้องเพลง คอร์ดจะปรากฏขึ้นเป็นห้องเพลงตามจังหวะทันทีnในทุกเครื่องหมายประจำจังหวะ (Time Signature)nโดยที่เราไม่ต้องเคาะจังหวะเอง nเพลงที่นำมาประมวลได้สามารถทำได้nตั้งแต่เพลงสอนเด็กเล็ก เพลงแจ็สnเพลงคลาสสิก เพลงป๊อป เพลงร๊อค nและแนวอื่นๆอีกมากมาย nnนักเรียนที่ได้เรียนคลาสศิลปะการประพันธ์ทำนองnA Melody Maker เมื่อเรามีความรู้แม่นยำnในการสร้างประโยคเพลงแล้วnจะได้ฝึกใช้งานเทคนิค Reformation nคือการสร้างทำนองใหม่โดยมีฐานโครงสร้างจากบทเพลงเดิมnเราก็ใช้ Chordify ในการฝึกฝนในชั้นเรียนด้วยเช่นกันnnจากประสบการณ์การใช้งานเจ้า Chordify นี้nผมให้คะแนนสามารถในแกะคอร์ดได้แม่นยำสูงถึง 85-90% nผมเคยลองใช้ในบทเพลงที่ใช้บันไดเสียงเดียวตลอดเพลงnความแม่นยำในการแกะคอร์ดออกมาค่อยข้างสูงถึง 90% nnส่วนในบางบทเพลงที่มีการเปลี่ยนบันไดเสียงอาจจะเป็นnช่วงท้ายของเพลงอาจจะมี bug nบางตัวที่ไม่สามารถประมวลผล nไม่เปลี่ยนคอร์ดตามบันไดเสียง ตัวอย่างเช่น nเพลงที่เล่นอยู่เป็นบันไดเสียง Ab Major nที่ประกอบด้วยคอร์ด Ab Bbm Cm Db Eb Fm Gdim nในบันไดเสียงนี้ยังคงประมวลผลคอร์ดได้ดี nพอมีการเปลี่ยนบันไดเสียง Db Major nที่ประกอบด้วยคอร์ด nDb Ebm Fm Gb Ab Bbm Cdim nมันอาจจะอ๊องๆเป็นแบบนี้ nDb D#m Fm F# G# A#m Cdim nnแทนที่จะได้ตอร์ดออกมาได้ถูกต้องเลยnคอร์ดที่ได้ออกมากลับกลายเป็นคอร์ดnแบบเอนฮาร์โนมิค (Enharmonic) nถ้ามีความชำนาญในเรื่องทฤษฎีดนตรีnก็สามารถแกะคอร์ดเรียบเรียงเองออกมาได้เลยnแล้วเอามาจัดเรียงใหม่ก็ไม่เป็นปัญหาครับnnนอกจากเว็ปไซต์ที่ใช้ได้ในคอมพิวเตอร์แล้ว nยังมีแอพพลิเคชั่นให้โหลดมาใช้ได้อีกด้วยครับ nลองโหลดไปใช้งานได้เลยครับnมีทั้งแบบฟรี และแบบเป็นสมาชิกnทั้ง Android และ IOSnเข้าไปลองเล่นกันได้เลยครับnnChordify.netnnAndroidnhttps://play.google.com/store/apps/details?id=net.chordify.chordify&hl=th&gl=USnnIOSnhttps://apps.apple.com/us/app/chordify-chords-for-any-song/id1073624757nnอ้างอิง : Chordify.ne
วิชาจิตวิทยาการสอนดนตรีnตอนนั้นผมอยู่ชั้นปีที่สาม nอาจารย์ให้พวกเราไปดูภาพยนตร์เรื่องหนึ่งnชื่อว่า "Mr.Holland's Opus" nมีฉากหนึ่งที่พูดถึงวิธีการสอนดนตรีไว้อย่างงดงามnปัญหาของเราในตอนนั้นคือ nทำไมนักเรียนที่เล่นดนตรีไทยถึงสามารถnเล่นดนตรีได้ออกมาอย่างมีสำเนียงและจิตวิญญาณ nในขณะที่นักเรียนที่เล่นดนตรีสากลถึงnเล่นออกมาได้ในระดับหนึ่ง เล่นถูกต้องทุกประการnแต่ยังขาดบางสิ่งบางอย่างไปnวันนั้นผมก็ได้ค้นพบสิ่งนี้ในฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องนี้nnแลง เด็กสาวนักเรียนดนตรีเครื่องมือคลาริเนตnกำลังนั่งฝึกซ้อมส่วนตัว ในขณะเดียวกันเธอก็กำลังร้องไห้ nครูฮอลแลนด์ครูดนตรีกำลังจะออกไปข้างนอกห้องดนตรีnก็เกิดได้ยินเสียงเด็กสาวกำลังร้องไห้nจึงเดินไปดูนักเรียนแล้วบอกว่า nn"พอได้แล้ว หมดเวลาแล้ว"n"เธอร้องไห้ทำไม"nn"หนูแค่รู้สึกแย่ ว่าทำไมหนูทำได้แค่นี้nซ้อมจนปากบวมไปหมดnน้องสาวของหนูได้ทุนเรียนบัลเลต์ nน้องชายได้ทุนฟุตบอล แม่ชนะเลิศการเขียนสีน้ำnพ่อเป็นนักร้องที่เสียงดีมาก nมีหนูคนเดียวในบ้านที่..."nnแลงพูดออกมาด้วยความไม่มั่นใจในตัวเองnจากนั้นแลงก็ทิ้งคลาริเน็ต nวิ่งออกไปจากห้องดนตรีทั้งที่ยังร้องไห้อยู่ nnวันรุ่งขึ้นแลงเข้ามาหาครูฮอลแลนด์nที่กำลังนั่งฝึกซ้อมเปียโนอยู่ nแลงตั้งใจจะมาบอกครูว่า nคลาริเน็ตของเธอถ้าใครอยากซื้อต่อnก็ให้ครูช่วยขายให้เขาไปเลยnจากนั้นแลงก็เดินออกไป nครูฮอลแลนด์พูดขึ้นทันทีว่า nn"แล้วเธอสนุกไหม"nn"หนูก็อยากจะสนุกนะคะ" nnครูฮอลแลนด์คิดขึ้นมาทันทีว่า nเราคงทำอะไรผิดพลาดไปแล้วล่ะ nn"เรามัวเล่นแต่โน้ตที่บันทึกในกระดาษ" n"ดนตรีมีอะไรมากกว่าตัวโน้ตนั้น"nnครูฮอลแลนด์นำแผ่นเสียงมาnเปิดแล้วบอกให้แลงมาฟังด้วยกัน nเพลงที่เปิดนี้เขาร้องไม่ตรงโน้ต จังหวะก็ไม่ตรง nรู้สึกว่าไม่เห็นมันกลมกลืนกับเพลงเอาซะเลย nเล่นมันอยู่แค่ 3 คอร์ด วนไปซ้ำๆกันแบบนี้ nแต่ครูฮอลแลนด์ดันชอบเพลงนี้ nn"เธอล่ะชอบเพลงนี้ไหม" nn"ชอบนะคะ" nnครูฮอลแลนด์บอกกับเธอว่า nเพราะมันให้ความสนุกไง nดนตรีให้ความสนุก nมันเป็นเรื่องของหัวใจ nมันเป็นเรื่องของความรู้สึกnมากกว่าแค่ตัวโน้ตที่ไร้จิตวิญญาณnnหลังจากนั้นครูฮอลแลนด์ก็ให้แลงnหยิบคลาริเนตของเธอnมาซ้อมกับเปียโนที่ครูจะเล่นประกอบnครูฮอลแลนด์ยกเอาแสตนโน้ตเพลงออกไป nn"มาเล่นกับฉัน แต่คราวนี้อย่าอ่านโน้ตnเพราะว่าเธอจำมันได้อยู่แล้ว nมันอยู่ที่นิ้วของเธอ อยู่ในหัวของเธอ nอยู่ในหัวใจของเธอ เธอแค่ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง" nnทั้งครูและศิษย์บรรเลงไปพร้อมกัน nแลงเล่นผิดพลาดในโน้ตเสียงต่ำ nเธอไม่สามารถเป่าเสียงต่ำนั้นได้ nครูฮอลแลนด์ให้เธอเริ่มใหม่อีกครั้ง nเธอก็พลาดอีกเป็นครั้งที่สอง nครูบอกว่า nn"ไม่เป็นไร" nn"ฉันขอถามเธอหน่อยว่า nเวลาที่เธอยืนอยู่หน้ากระจกแล้วเธอนึกถึงอะไร" nn"หนูนึกถึงเส้นผมของหนู nพ่อบอกว่ามันทำให้นึกถึงช่วงเวลาnที่พระอาทิตย์กำลังจะตกดิน" nnครูฮอลแลนด์จึงให้เธอจินตนาการถึงภาพของnช่วงเวลาที่พระอาทิตย์กำลังจะตกดินnช่วงเวลาที่งดงามนั้นกับการเล่นคลาริเนตของเธอ nn"Play the Sunset" nnครูบอกให้แลงหลับตาแล้วเล่นมันออกมา nแลงเล่นคลาริเนตกับครูฮอลแลนด์อีกครั้ง nคราวนี้แลงมองไม่เห็นอะไรยกเว้นช่วงเวลาที่เธอกำลังnชมความงดงามของพระอาทิตย์ตกดินในตัวของเธอnเธอมีรอยยิ้ม เธอดูมีความสุขกับการเล่นดนตรีnตอนนี้เธอเล่นคลาริเนตเสียงต่ำนั้นได้แล้ว nn"เล่นต่อสิ อย่าหยุด"nnเป็นเสียงคลาริเน็ตที่ไพเราะที่สุดที่เธอเคยบรรเลงออกมา nทั้งครูและลูกศิษย์ต่างภูมิใจในกันและกัน nnครูฮอลแลนด์เองก็ค้นพบวิธีการสอนดนตรีนี้ nนำไปให้นักเรียนคนอื่นได้ฝึกเข้าถึงดนตรีมากกว่าตัวโน้ต nฉากจบการศึกษาของนักเรียนมัธยม nกับการบรรเลงป๊อปออร์เคสตร้าnของครูฮอลแลนด์ได้จบลงอย่างสวยงามnnภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นแรงบันดาลใจสำคัญnที่ทำให้ผมเลือกมาเป็นอาชีพครูสอนดนตรีnจนถึงทุกวันนี้ วันไหนที่หมดกำลังใจจะมาดูnภาพยนตร์เรื่องนี้ทุกครั้ง แล้วก็ร้องไห้ทุกครั้ง nในเรื่องราวชีวิตของครูฮอลแลนด์nยังมีอีกมากมาย ในชีวิตครูดนตรีที่ต้องพบnเจอกับสิ่งต่างๆที่เข้ามาในชีวิต nการแก้ปัญหาและสถานการณ์ต่างๆnMr.Holland's Opusnnลิงค์ฉาก Play the Sunset ของ Mr.Holland's Opusnhttps://www.youtube.com/watch?v=Q_oKiecsAZEnnอ้างอิง : https://en.wikipedia.org/wiki/Mr._Holland%27s_Opus nภาพ : https://www.listal.com/viewimage/9867095 ตอนนี้เธอเล่นคลาริเนต
ช่วงสมัยผมเรียนเอกดนตรีnแหล่งข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการค้นคว้าnหาโน้ตเพลง หาแบบฝึกมาซ้อม nเขียนรายงาน หาผลงานมาอ้างอิงnเพื่อประพันธ์ดนตรีและเรียบเรียงเสียงประสาน nตอนนั้นอาจารย์สอนขับร้องประสานเสียงnบอกให้ผมไปค้นหาเพลง String Quartetnและ Choral ในเว็ปไซต์นี้ ให้เอาไปปริ้นท์ nเพื่อเตรียมจะนำไปแสดงคอนเสิร์ตnnเว็ปไซต์ "โน้ตเพลงไม่มีลิขสิทธิ์" nเปิดเข้าไปมีแหล่งโน้ตเพลงมากมายทุกยุคสมัยnมีนักประพันธ์แทบจะครบเกือบทุกคนnเป็นคลังโน้ตเพลงที่รวมกันอยู่อย่างมหาศาลnnเว็ปไซต์นี้ก็คือ nnimslp.org nnสำหรับชื่อของเว็ปไซต์ IMSLP นี้ย่อมาจากอะไรnถ้าเรียกเต็มๆก็คือ nInternational Music Score Library Project nเป็นโครงการห้องสมุดโน้ตเพลงนานาชาติครับnโครงการนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2006 หรือ พ.ศ. 2549 nโดยหนังสือโน้ตเพลงแรกที่ถูกจัดพิมพ์ที่นี่ nคือหนังสือ Harmonice Musices Odhecatonnถูกจัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในกรุงเวนีส ประเทศอิตาลี nในปี พ.ศ. 2044 โดยคุณอ็อททาวิโน่ เปตรุสซี่ n(Ottaviano Petrucci) nซึ่งเป็นชื่อของห้องสมุดแห่งนี้n(Petrucci Music Library)nnปัจจุบันในเว็ปไซต์ของ imslp.org nมีโน้ตเพลง 667,107 ชุด nมีสื่อบันทึกเสียง 74,737 ชุดnเก็บรวบรวมผลงานนักประพันธ์ 25,520 คนnและผลงานของนักแสดง 1,583 คนnnตามความตั้งใจของเว็ปไซต์ ที่ว่า nSharing the World’snPublic Domain music. nเจตนารมณ์ในการแบ่งปันโน้ตเพลงของโลกnเปิดเป็นสาธารณะสามารถนำมาใช้ประโยชน์nได้โดยไม่มีลิขสิทธิ์nnสำหรับผลงานที่เปิดเป็น Public Domain คืออะไร nก็คือสมบัติสาธารณะที่บุคคลทั่วไปสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้nโน้ตเพลงนั้นผู้ประพันธ์เสียชีวิตไปนานแล้วจนหมดลิขสิทธิ์คุ้มครองnโน้ตเพลงที่ผู้ประพันธ์ไม่ขอเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ยกให้เป็นสมบัติสาธารณะnหรืออาจจะเป็นโน้ตเพลงที่ไม่เคยเข้าสู่สารบบของลิขสิทธิ์ตั้งแต่ต้นnnต้องขอบคุณอาจารย์สอนขับร้องประสานเสียงnที่เปิดโลกของแหล่งข้อมูลดีในวันนั้นที่ผมเองก็nใช้ค้นคว้ามาโดยตลอดจนจบการศึกษา nทุกวันนี้ยังต้องขอบคุณn เว็ปไซต์นี้ยังคงเป็นแหล่งวัตถุดิบชั้นเยี่ยมnที่ช่วยทำให้ประหยัดเงิน nและมีไอเดียในการไปใช้ทำมาหากินnแบบไม่จำกัดจริงๆครับnnส่วนเว็ปไซต์อื่นๆที่เราสามารถเข้าค้นคว้า ค้นหาและnดาวน์โหลดโน้ตเพลงที่เป็น nPublic Domain เพิ่มเติมnอีกจำนวน 10 แหล่ง nสามารถค้นคว้าได้ตามลิงค์ต่อไปนี้ได้เลยครับnn1. Indiana Universitynhttp://www.dlib.indiana.edu/variations/scores/nn2. ChoralWikinhttp://www1.cpdl.org/wiki/index.php/Main_Pagenn3. Musopennhttps://musopen.org/nn4. Mutopia Projectnhttps://www.mutopiaproject.org/nn5. Musicalionnhttp://www.musicalion.com/nn6. Sheet Music Onlinenhttp://www.sheetmusic1.com/NEW.GREAT.MUSIC.HTMLnn7. Sheet Music Foxnhttp://www.sheetmusicfox.com/nn8. Free Scoresnhttps://www.free-scores.com/index_uk.phpnn9. Public Domain Sherpanhttp://www.publicdomainsherpa.com/free-sheet-music.htmlnn10. University of Virginia Librarynhttps://guides.lib.virginia.edu/c.php?g=515223&p=3520588nnอ้างอิง : imslp.org
การแปรทำนองเดิมให้แตกต่างออกไป nความน่าสนใจของมันคือเวลาเราเริ่มเบื่อการเรียบเรียง nการที่ต้องทำการเรียบเรียงอะไรแบบเดิมๆ nลองปรับเปลี่ยนสิ่งเดิมๆนั้นในมุมมองใหม่ๆ nมุมมองที่เรามองแตกต่างกันออกไป nอาจจะตั้งโจทย์ในการคิดเพิ่มออกมา n10 แบบ ถึง 100 แบบ nเขียนออกมาขอให้รู้สึกสนุกไว้ก่อนครับ nnการฝึกแบบนี้เป็นการฝึกสมองnและยังเป็นการเก็บคลังไอเดียที่nหยิบมาใช้อัตโนมัติเวลาเจอโจทย์ใหม่ๆnสิ่งนี้อาจฝึกทำได้ครับในช่วงเวลาว่าง nคล้ายๆกับการที่เราออกกำลังกายnที่เป็นส่วนสมองของความคิดสร้างสรรค์ nการฝึกคิดในทำนองเดิมจากหลายๆมุม nด้วยวิธีการต่างๆ มองว่าทำนองนี้nมีอะไรที่เป็นไปได้บ้างnnปรับเปลี่ยน ลดทอน เพิ่มเติม ตัดออก nจะทำอะไรกับมันก็ได้ทั้งนั้นครับ nการฝึกแบบนี้เวลาที่ต้องการเขียน nMelodic Variation เป็นการแปลทำนองเดิมnให้แตกต่างออกไปโดยยังคงสีสันnสำเนียงเดิมไว้จากทำนองเดิม nnวิธีนี้ยังใช้คิดทำนองเสริมอย่าง nCounter Melody ที่เป็นการเขียนทำนองnสอดประสานทำนองหลัก nเขียนให้ตรงกับโครงสร้างคอร์ด nการใช้ทำนองสอดประสานนี้nก็จะเป็นไปอย่างเรียบเนียน nหรือการเขียน Obbligato nที่มีฐานจากการเขียน Counter Melody อีกที่ nหรือเรียกว่า Obbligato Base on Counter Melody nก็สามารถนำวิธีการแปรทำนองมาใช้ได้เหมือนกันnnข้อดีของการฝึกฝนบ่อยnอาจจะต้องมีการดูทำนองเพลงให้เยอะที่สุดnเท่าที่จะทำได้ เพราะสมองจะเกิด Pattern nเวลามองเห็นทำนองเดิม ก็จะคิดออกได้เลยnว่าควรไปทางไหน ควรใช้เทคนิคไหนเข้าไป nสำหรับท่านที่มาเรียนในชั้นเรียน A Melody Maker nก็คงจะได้ฝึกกันบ้างและนำเอาไปใช้งานกันแล้ว nnการฝึกมองทำนองเดียวได้nเป็นร้อยเป็นพันทำนองจึงสำคัญมาก nในการสร้างสรรค์ครั้งนั้นจึงต้องกำหนดโจทย์ให้ชัดเจนnว่าอยากปั้นผลงานให้ออกมารูปทรงไหน nอารมณ์ใด จะเล่นกับคนฟังอย่างไร nnส่วนปัญหาข้อเดียวของการฝึกฝนวิธีนี้คือ nมีทำนองให้เลือกมากจนเกินไป nฟังดูน่าหมั่นไส้ครับ nแต่เป็นเช่นนั้นจริงๆ nเพราะถ้าคิดออกมาได้เยอะแบบนี้nก็มีให้เลือกเยอะจนเลือกไม่ถูก nแล้วงานก็จะไม่เสร็จได้เพราะnมีทำนองเลือกเยอะเกินไปครับ nจึงต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนก่อนคิดเสมอครับ :)
สำหรับสมาชิกที่จองลงทะเบียนติวสอบไว้nและผู้สนใจลงทะเบียนเรียนครับ nnคอร์สเตรียมสอบวิชาทฤษฎีดนตรี n"Western Music Theory 2022" nn----------------------------------nnนอกจากการฝึกฝนทักษะทางดนตรีให้ชำนาญในเชิงปฏิบัติแล้ว nพื้นฐานที่สำคัญในการเดินทางเข้าสู่สายงานดนตรี nภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ความรู้ที่จะได้ใช้งานnและใช้ประโยชน์ตลอดเส้นทางชีวิตการเป็นนักดนตรี nคือความรู้ที่ว่าด้วย "ทฤษฎีดนตรี" nnในอนาคตการเรียนวิชาเอกดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ nคณะดุริยางคศาสตร์ หรือสถาบันด้านการศึกษาดนตรี nที่นักเรียนมัธยมคนหนึ่งกำลังก้าวเข้าnสู่การเดินทางที่สำคัญที่สุดในชีวิตnจะต้องไปเจอกับงานอาชีพที่ลงมือปฏิบัติงานจริงๆ nnบางคนเดินทางไปสู่สาขาดนตรีศึกษาที่ต้องใช้nความรู้ทางทฤษฎีดนตรีเพื่อสอนลูกศิษย์nและใช้ความรู้นี้ทำงานวิจัย nnบางคนเดินทางไปสู่การเป็นนักเรียบเรียง นักประพันธ์ nที่ต้องใช้ความรู้นี้สร้างสถาปัตยกรรมทางเสียงขึ้นมา nก่อร่างสร้างผลงานดนตรี ด้วยความรู้และความสามารถ nnบางคนเดินทางเข้าสู่อุตสาหกรรมดนตรี ธุรกิจดนตรี nสู่งานสร้างสรรค์ ที่ต้องใช้ความรู้ทฤษฎีดนตรีนี้มาอธิบาย nสร้างคอนเทนท์ เรื่องราวที่มีที่มาที่ไปnสร้างความน่าเชื่อถือและความเป็นมาตรฐานมมืออาชีพnจนได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า nnเกษตรที่ปลูกผักเก่งไม่ได้หมายความจะขายผักnที่ตัวเองปลูกได้เสมอไป nแต่สำหรับเกษตรกรที่ทั้งปลูกผักเก่งด้วย nและอธิบายความเป็นมาของผักชนิดนั้นๆได้อย่างสมบูรณ์ nสื่อสารภาษาของการสร้างโลกประโยชน์และเรื่องราวของผัก nn"ทฤษฎีดนตรี"nเป็นภาษาจะช่วยอธิบายเสียงnที่อยู่ลอยอยู่ในอากาศnให้มีตัวตนที่ชัดเจนได้มากยิ่งขึ้นnnแต่กว่าจะไปถึงตรงจุดนั้น nต้องสอบวิชา ทฤษฎีดนตรีให้ "ผ่าน" ก่อนnเป็นวิชาที่ต้องฝึกฝนและเตรียมตัวnก่อนเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยครับnn----------------------------------nnคอร์สนี้เหมาะสำหรับnn🎼TIME วิชาทฤษฎีดนตรี nสำหรับการสอบเข้าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลnGrade 9 สำหรับสอบเข้าระดับเตรียมอุดมดนตรี nGrade 12 สำหรับสอบเข้าระดับปริญญาตรีnn🎼SMCC วิชาทฤษฎีดนตรี Grade 5-6 (Intermediate Level)nสำหรับการสอบเข้าคณะดุริยางค์ศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากรnn🎼สอบวิชาบังคับ วิชาทฤษฎีดนตรี เพื่อยื่นคะแนนเข้าสอบในภาคปฏิบัติnจุฬาฯ, มศว, เกษตรศาสตร์, มรภ และมหาิทยาลัยต่างๆทั้วประเทศ nn🎼 เตรียมสอบภาคทฤษฎีเข้าสอบดุริยางค์ทหารสี่เหล่าทัพnn🎼Trinity วิชาทฤษฎีดนตรี Grade 6-8 (Advance)nสำหรับการสอบวัดระดับความสามารถและความถนัดวิชาทฤษฎีดนตรี nn🎼ABRSM วิชาทฤษฎีดนตรี Grade 6-8 (Advance)nn---------------------------nรายละเอียดของเนื้อหา n---------------------------nn"Western Music Theory 2022" nOnline Course & Workshopnn🎼 [Music Notation: Music Symbol, Music Element, Rhythmic, Pitch] nเรียนรู้การบันทึกโน้ตดนตรีตามหลักการบันทึกโน้ต เรียนรู้สัญลักษณ์ต่างๆที่จำเป็นในการใช้เรียบเรียงเสียงประสานและประพันธ์ดนตรี ชื่อเรียกสัญลักษณ์ต่างๆ ภาษาดนตรีที่จำเป็นในการสื่อสารกับนักดนตรี n - กุญแจเสียง (Clef) : กุญแจซอล (Treble Clef) , กุญแจฟา (Bass Clef) , n กุญแจอัลโต้ (Alto Clef), กุญแจเทเนอร์ (Tenor Clef)n - เส้นน้อย (Ledger Line) : เส้นน้อย 4 เส้น ที่อยู่สูงหรือต่ำกว่าบรรทัด 5 n เส้นnn🎼[Time Signature: Simple Meter, Compound Meter, Complex Meter] nเรียนรู้การวิเคราะห์ แยกแยะบทเพลงด้วยเครื่องหมายประจำจังหวะในแบบต่างๆ จังหวะธรรมดา จังหวะซ้อน และจังหวะผสม เรียนรู้การจัดกลุ่มตัวโน้ต ส่วนจังหวะที่ถูกต้อง เพื่อนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง n - เครื่องหมายประจำจังหวะ (Time Signature) : เครื่องหมายประจำ n จังหวะในอัตราจังหวะธรรมดา (Simple Time) และอัตราจังหวะผสม n (Compound Time) อัตราจังหวะซ้อน (Complex Time)n - ค่าตัวโน้ต (Note Value)n - Tuplet : Triplet (โน้ตสามพยางค์)nn🎼[Interval: Perfect Major, Minor, Augmented, Diminished, Inversion]nเรียนรู้การผสมเสียงสองเสียง เป็นขั้นคู่ทำให้เกิดอารมณ์ในแบบต่างๆ การสร้างขั้นคู่จากโน้ตตัวล่างและโน้ตตัวบน เรียนรู้การสื่อสารภาษาดนตรีในขั้นคู่ต่างๆ การมองเห็นและวิเคราะห์ผ่านสกอร์เพลงn - ขั้นคู่ ไม่เกิน P8n - ขั้นคู่พลิกกลับn - ขั้นคู่ Enharmonicnn🎼[Scale: Major ,Natural Minor, Melodic Minor, Harmonic Minor, Mode]nเรียนรู้โครงสร้างพื้นฐานของบันไดเสียงที่จำเป็นทุกชนิด nสามารถสร้างบันไดเสียงเพื่อเตรียมพร้อมไปสู่การประพันธ์ดนตรีและการเรียบเรียงดนตรี เรียนรู้การผสมโน้ตในบันไดเสียงและโหมดในแบบต่างๆ nรวมถึงการนำเสียงที่ผสมไปใช้ในงานจริงn - เครื่องหมายประจำกุญแจเสียงไม่เกิน 7# / 7bn - บันไดเสียงเมเจอร์ (Major Scale), บันไดเสียงไมเนอร์ (เนเชอรัล, ฮาร์ n โมนิค, เมโลดิค) (Natural minor Scale, Harmonic minor Scale n and Melodic minor scale)n - โหมดต่างๆ (Ionian Dorian Phrygian Lydian Mixolydian Aeolian Locrian)nn🎼[Triad: Major, Minor, Diminished, Augmented, Inversion]nเรียนรู้ชื่อทรัยแอดพื้นฐานทั้ง 4 แบบ nการประกอบร่างของเสียงสามเสียงทำให้เกิดอารมณ์ในรูปแบบต่าง nการใช้รูปพื้นต้น และการพลิกกลับทรัยแอดทุกรูปแบบ n - ทรัยแอด (Triad) : Major, Minor, Diminished, Augmentednn🎼[Chord: Maj7, Dominant7, m7, dim7, m7b5, Aug7, Augmaj7, add, sus4, ฯลฯ ]เรียนรู้การสร้างคอร์ดจากโครงสร้างทุกโครงสร้าง ฝึกปฏิบัติการสร้างคอร์ด nทั้งคอร์ดพื้นฐานn - คอร์ดเซเว่น (Seventh Chord) : Major 7, Minor 7, Dominant7, n Half Diminished, Fully diminished7n - ไดอาโทนิกทรัยแอด (Diatonic Triad) : ทุกตำแหน่งของ Scale n Degreen - ไดอาโทนิกเซเว่นคอร์ด (Diatonic Seventh Chord) : Supertonic n 7th, Dominant 7th, Leading Tone 7thnn🎼วิเคราะห์ (Analysis)n - วิเคราะห์บทเพลงหรือบางส่วนของบทเพลงที่ครอบคลุมเนื้อหาใน n เกรด 12nn🎼 การทดเสียงและการย้ายบันไดเสียง (Transposition)n - ทดเสียงทำนองที่กำหนดสูงขึ้นหรือต่ำลงช่วงคู่แปดหรือทดเสียง n ทำนองต่างกุญแจเสียงn - ย้ายบันไดเสียงของทำนองเป็นบันไดเสียงอื่นๆnn🎼 คำศัพท์ (Musical Term) n - คำศัพท์ดนตรีที่ออกสอบบ่อยในหมวดต่างๆ nn-------------------------------------------nnวิธีเรียนnFB Secret Group n- เรียนบทเรียนเนื้อหาภาควิชาทฤษฎีดนตรี 20 ชั่วโมง n- ทำแบบทดสอบ 20 ชุด (ส่งตรวจเพื่อประเมินและพัฒนารายบุคคล)nnลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้nnค่าลงทะเบียน 4,000 บาท nnลงทะเบียนเรียนและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม nโทร 093-293-3188nได้ที่ Inbox m.me/krubeer.orgnnแล้วพบกันในคลาสเรียนครับ nKruBeernn#สอบทฤษฎีดนตรี #สอบโสตทักษะ #ติวสอบTIME #TIMEGrade9 #TIMEGrade12 #MusicTheory #SMCC #Trinity #ABRSM #สอบเข้าเอกดนตรี #เอกดนตรีสากล #เอกดนตรีศึกษา #ดุริยางคศิลป์🎼